กำเนิดโขน
โขนเป็นมหรสพชั้นสูงที่ใช้แสดงในงานสำคัญๆมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเช่นเดียวกับหนังใหญ่เชื่อกันว่ามีมาตั้งแต่โบราณประมาณก่อนพุทธศตวรรษที่ 16 โดยสันนิษฐานว่า "โขน" ได้พัฒนามาจากการแสดง 3 ประเภทคือ
1. การแสดงชักนาคดึกดำบรรพ์
การแสดง "ชักนาคดึกดำบรรพ์"มีกล่าวไว้ในกฎมณเฑียรบาลสมัยกรุงศรีอยุธยากล่าวถึงพระราชพิธีอินทราภิเษกว่า"ในการพระราชพิธีอินทราภิเษกปลูกเขาพระสุเมรุ(หมายเหตุ : สร้างจากโครงไม้ไผ่แล้วปิดทับด้วยกระดาษแล้วจึงทาสีให้แลดูเหมือนภูเขา)
สูงเส้นหนึ่งกับ 5 วาที่กลางสนามตั้งภูเขาอิสินธรยุคนธรสูงสักหนึ่งและภูเขากรวิกสูง 15วาที่เชิงเขาทำเป็นรูปพญานาคเจ็ดเศียรเกี้ยว (หมายเหตุ: รัด) พระสุเมรุแล้วตำรวจแต่งเป็นรูปอสูร 100 มหาดเล็กแต่งเป็นเทพยดา 100 และแต่งเป็นพาลีสุครีพมหาชมพูและบริวารวานรรวม 103 ชักนาคดึกดำบรรพ์โดยมีอสูรชักหัวเทพยดาชักหางส่วนวานรอยู่ปลายหางครั้น ถึงวันที่ 5ของพระราชพิธีเป็นวันกำหนดให้ชักนาคดึกดำบรรพ์ และวันที่ 6เป็นวันชุบน้ำสุรามฤตตั้งน้ำสุรามฤต 3 ตุ่มตั้งช้าง 3 ศีรษะม้าเผือกอศุภราช (หมายเหตุ:โคซึ่งเป็นเทพพาหนะของพระอิศวร)ครุฑธราช นางดาราหน้าฉานตั้งเครื่องสรรพยุทธเครื่องช้างและเชือกบาศหอกชัยตั้งโตมรชุบน้ำสุรามฤตเทพยดาผู้เล่นดึกดำบรรพ์ พร้อมด้วยรูปพระอิศวรพระนารายณ์พระอินทร์พระวิศวกรรมถือเครื่องสำรับตามธรรมเนียมเข้ามาถวายพระพร"พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์เล่าเรื่อง "กวนน้ำอมฤต" ไว้ในหนังสือ "บ่อเกิดรามเกียรติ์" ไว้ว่า "เทวดาและอสูรอยากจะใคร่อยู่ยงพ้นจากความตายจึงชวนกันกวนเกษียรสมุทรทำน้ำอมฤต เอาเขามนทรคีรีเป็นไม้กวนเอาพญาวาสุกรี (หมายเหตุ: พญานาคเจ็ดเศียร) เป็นเชือกพญาวาสุกรีพ่นพิษเป็นไฟพากันได้ความเดือดร้อนพระนารายณ์จึงเชิญให้พระอิศวรเสวยพิษเพื่อดับความเดือดร้อน พระอิศวรก็เสวยพิษเข้าไป (หมายเหตุ:พระศอของพระอิศวรจึงเป็นสีนิลเพราะผลแห่งพิษนั้น)เทวดาและอสูรชักเขามนทคีรีหมุนกวนไปอีกจนเขาทะลุลงไปใต้โลกพระนารายณ์จึงอวตารเป็นเต่าไปรองรับเขามนทคีรีไว้มิให้ทะลุลงไปได้อีก การกวนจึงกระทำต่อไปได้สะดวกเทวดากับอสูรทำสงครามกันชิงน้ำอมฤตพระนารายณ์ฉวยน้ำอมฤตไปเสียพ้นจากฝั่งเกษียรสมุทรแล้วพวกอสูรมิได้กินน้ำอมฤตก็ตายในที่รบเป็นอันมาก เทวดาจึง
ได้เป็นใหญ่ในสวรรค์"สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงประทานอธิบายไว้ว่า การแสดงชักนาคดึกดำบรรพ์นี้เป็นการแสดงตำนานทางไสยศาสตร์เพื่อให้เกิดสวัสดิมงคล
2 การแสดงกระบี่กระบอง
ในสมัยโบราณคนไทยจะฝึกวิชาการต่อสู้ไว้สู้รบกับข้าศึก และเพื่อป้องกันตัวอาวุธที่ใช้ในการต่อสู้ก็มีทั้งอาวุธสั้น และอาวุธยาวเช่นมีดดาบหอกไม้พลอง ฯลฯ อันเป็นที่มาของวิชากระบี่กระบองวิชากระบี่กระบองนอกจากเป็นศิลปะการป้องกันตัวในสมัยโบราณแล้วยังสามารถนำไปแสดงเป็นมหรสพได้อีกประเภทหนึ่งจนกระทั่งได้รับการปรับปรุงนำมาผสมผสานกับการแสดงโขนในเวลาต่อมา
โขนเป็นมหรสพชั้นสูงที่ใช้แสดงในงานสำคัญๆมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเช่นเดียวกับหนังใหญ่เชื่อกันว่ามีมาตั้งแต่โบราณประมาณก่อนพุทธศตวรรษที่ 16 โดยสันนิษฐานว่า "โขน" ได้พัฒนามาจากการแสดง 3 ประเภทคือ
1. การแสดงชักนาคดึกดำบรรพ์
การแสดง "ชักนาคดึกดำบรรพ์"มีกล่าวไว้ในกฎมณเฑียรบาลสมัยกรุงศรีอยุธยากล่าวถึงพระราชพิธีอินทราภิเษกว่า"ในการพระราชพิธีอินทราภิเษกปลูกเขาพระสุเมรุ(หมายเหตุ : สร้างจากโครงไม้ไผ่แล้วปิดทับด้วยกระดาษแล้วจึงทาสีให้แลดูเหมือนภูเขา)
สูงเส้นหนึ่งกับ 5 วาที่กลางสนามตั้งภูเขาอิสินธรยุคนธรสูงสักหนึ่งและภูเขากรวิกสูง 15วาที่เชิงเขาทำเป็นรูปพญานาคเจ็ดเศียรเกี้ยว (หมายเหตุ: รัด) พระสุเมรุแล้วตำรวจแต่งเป็นรูปอสูร 100 มหาดเล็กแต่งเป็นเทพยดา 100 และแต่งเป็นพาลีสุครีพมหาชมพูและบริวารวานรรวม 103 ชักนาคดึกดำบรรพ์โดยมีอสูรชักหัวเทพยดาชักหางส่วนวานรอยู่ปลายหางครั้น ถึงวันที่ 5ของพระราชพิธีเป็นวันกำหนดให้ชักนาคดึกดำบรรพ์ และวันที่ 6เป็นวันชุบน้ำสุรามฤตตั้งน้ำสุรามฤต 3 ตุ่มตั้งช้าง 3 ศีรษะม้าเผือกอศุภราช (หมายเหตุ:โคซึ่งเป็นเทพพาหนะของพระอิศวร)ครุฑธราช นางดาราหน้าฉานตั้งเครื่องสรรพยุทธเครื่องช้างและเชือกบาศหอกชัยตั้งโตมรชุบน้ำสุรามฤตเทพยดาผู้เล่นดึกดำบรรพ์ พร้อมด้วยรูปพระอิศวรพระนารายณ์พระอินทร์พระวิศวกรรมถือเครื่องสำรับตามธรรมเนียมเข้ามาถวายพระพร"พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์เล่าเรื่อง "กวนน้ำอมฤต" ไว้ในหนังสือ "บ่อเกิดรามเกียรติ์" ไว้ว่า "เทวดาและอสูรอยากจะใคร่อยู่ยงพ้นจากความตายจึงชวนกันกวนเกษียรสมุทรทำน้ำอมฤต เอาเขามนทรคีรีเป็นไม้กวนเอาพญาวาสุกรี (หมายเหตุ: พญานาคเจ็ดเศียร) เป็นเชือกพญาวาสุกรีพ่นพิษเป็นไฟพากันได้ความเดือดร้อนพระนารายณ์จึงเชิญให้พระอิศวรเสวยพิษเพื่อดับความเดือดร้อน พระอิศวรก็เสวยพิษเข้าไป (หมายเหตุ:พระศอของพระอิศวรจึงเป็นสีนิลเพราะผลแห่งพิษนั้น)เทวดาและอสูรชักเขามนทคีรีหมุนกวนไปอีกจนเขาทะลุลงไปใต้โลกพระนารายณ์จึงอวตารเป็นเต่าไปรองรับเขามนทคีรีไว้มิให้ทะลุลงไปได้อีก การกวนจึงกระทำต่อไปได้สะดวกเทวดากับอสูรทำสงครามกันชิงน้ำอมฤตพระนารายณ์ฉวยน้ำอมฤตไปเสียพ้นจากฝั่งเกษียรสมุทรแล้วพวกอสูรมิได้กินน้ำอมฤตก็ตายในที่รบเป็นอันมาก เทวดาจึง
ได้เป็นใหญ่ในสวรรค์"สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงประทานอธิบายไว้ว่า การแสดงชักนาคดึกดำบรรพ์นี้เป็นการแสดงตำนานทางไสยศาสตร์เพื่อให้เกิดสวัสดิมงคล
2 การแสดงกระบี่กระบอง
ในสมัยโบราณคนไทยจะฝึกวิชาการต่อสู้ไว้สู้รบกับข้าศึก และเพื่อป้องกันตัวอาวุธที่ใช้ในการต่อสู้ก็มีทั้งอาวุธสั้น และอาวุธยาวเช่นมีดดาบหอกไม้พลอง ฯลฯ อันเป็นที่มาของวิชากระบี่กระบองวิชากระบี่กระบองนอกจากเป็นศิลปะการป้องกันตัวในสมัยโบราณแล้วยังสามารถนำไปแสดงเป็นมหรสพได้อีกประเภทหนึ่งจนกระทั่งได้รับการปรับปรุงนำมาผสมผสานกับการแสดงโขนในเวลาต่อมา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น