ขั้นตอนการทำหัวโขน
วิธีการและกระบวนการทำหัวโขนตามขนบนิยมอันมีมาแต่ก่อนถึงปัจจุบันอาจลำดับระเบียบวิธีและกระบวนการทำหัวโขน ดังนี้
1. การเตรียมวัสดุ
โดยเฉพาะสำหรับตัวลวดลายต่าง ๆ ประดับตกแต่งหัวโขนแต่ละแบบคือ "รักตีลาย" ประกอบด้วยรักน้ำเกลี้ยงชันนิ้วมันบางผสมเข้าด้วยกันเอาขึ้นตั้งไฟอ่อนๆ เคี่ยวจนงวดพอที่จะกดลงในแม่พิมพ์ทำเป็นลวดลาย
2. การเตรียมหุ่น
หุ่นต้นแบบเป็นหุ่นที่จะใช้กระดาษปิดทับให้ทั่วแล้วถอดเป็นหัวโขน แต่
เดิมทำด้วยดินปั้นเผาไฟกับทำด้วยไม้กลึงปัจจุบันทำด้วยปูนซิเมนต์หรือปูนปลาสเตอร์
หุ่นหัวโขนชนิดครอบศีรษะและปิดหน้ามักทำเป็นหุ่นอย่าง "รูปโกลน" มีเทารอยตาจมูกปากหมวดผมเป็นต้น
หุ่นหัวชฎา - มงกุฎทำเป็นรูปทรงกระบอกส่วนบนกลึงรัดเป็นชิ้น ๆ ขึ้นไปเป็นจอมซึ่งเป็นที่สวมยอดแบบต่าง ๆ
3. การปิดหุ่น
เป็นการปิดกระดาษทับลงบนหุ่นเรียกว่าการพอกหุ่น หรือปิดหุ่นโดยจะปิดกระดาษทับหลาย ๆ ชิ้นให้หนาพออยู่ได้หลังจากถอดศีรษะออกจากหุ่น
4. การถอดหุ่น
คือการเอาศีรษะกระดาษออกจากหุ่นโดยใช้มีดปลายแหลมกรีดศีรษะกระดาษให้ขาดแล้วจึงถอดออกจากต้นแบบหลังจากนั้นต้องเย็บประสานให้สนิทแล้วปิดกระดาษทับ ให้เรียบร้อยศีรษะกระดาษนี้จะเรียกว่า "กะโหลก"
5. การปั้นหน้าหรือกระแหนะ
คือการใช้รักตีลายมาปั้นเพิ่มเติมลงบนกะโหลกที่ส่วนคิ้วตาจมูกปาก ฯลฯให้ได้รูปชัดเจนและแสดงอารมณ์ของใบหน้ากับการประดับลวดลายตกแต่งบนตำแหน่งที่เป็นเครื่องศิราภรณ์ เช่นประดับส่วนเกี้ยวรักร้อย ฯลฯ และจัดทำส่วนหูสำหรับเศียรยักษ์ลิงพระและนางที่ปิดหน้า
6. การปั้นรักตีลาย
ใช้รักตีลายพิมพ์เป็นลวดลายละเอียดประดับตามตำแหน่งบนกะโหลกที่ได้ปั้นหน้า ติดลวดลายประดับไว้พร้อมแล้ว
7. การลงรักปิดทอง
คือการใช้รักน้ำเกลี้ยงทาทับส่วนที่ทำเป็นลวดลายต่าง ๆ ซึ่งต้องการจะทำเป็นสีทองคำโดยทารักทิ้งไว้ให้แห้งสนิทแล้ว จึงนำทองคำเปลวมาปิดทับให้ทั่ว
8. การประดับกระจก
หรือพลอยกระจกเป็นการตกแต่งส่วนละเอียดโดยเฉพาะลวดลายที่ไส้ ตัวกระจิงไส้กระหนกไส้ใบเทศเป็นต้นเพื่อให้เกิดประกายแวววามกระจกที่ใช้เรียกว่า กระจกเกรียงปัจจุบันหาไม่ง่ายนักช่างทำหัวโขนจึงใช้พลอยกระจกประดับแทน
9. การระบายสีและเขียนส่วนละเอียด
เป็นกระบวนการขั้นสุดท้ายของการทำหัวโขนสีที่ใช้มักใช้ สีฝุ่นผสมกาวกระถินหรือยางมะขวิดสีชนิดนี้มีคุณลักษณะสดใสและนุ่มนวลการระบายสีและเขียนรูปลักษณ์บนใบหน้าของหัวโขน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น